เมนู

อรรถกถากุมมสูตรที่ 3


ในกุมมสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ .
บทว่า กุมฺโม แปลว่า เต่ามีกระดอง. บทว่า กจฺฉโป นี้ เป็น
ไวพจน์แห่งบทว่า กุมฺโม นั้นแล. บทว่า อนุนทีตีเร แปลว่า ที่ริมฝั่งแห่ง
แม่น้ำ. บทว่า โคจรปสุโต ความว่า เต่าคิดว่าถ้าเราจักได้ผลไม้น้อยใหญ่
ก็จักกิน จึงขยัน คือขวนขวาย สืบกันมาตามประเพณี. บทว่า สโมทหิตฺวา
ได้แก่ เหมือนใส่เข้าในกล่อง. บทว่า สงฺกสายติ แปลว่าย่อมปรารถนา
บทว่า สโมทหํ ได้แก่ ตั้งไว้ คือวางไว้. ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ ว่า
เต่า ตั้งอวัยวะทั้งหลายไว้ในกระดองของตน ไม่ให้โอกาสแก่สุนัขจิ้งจอก
และสุนัขจิ้งจอกก็ทำร้ายเต่าไม่ได้ฉันใด ภิกษุตั้งมโนวิตก ( ความตรึก
ทางใจ ) ของตนไว้ นกระดอง คืออารมณ์ของตน ไม่ให้โอกาสแก่กิเลสมาร
มารก็ทำร้ายภิกษุนั้นไม่ได้ฉันนั้น.
บทว่า อนิสฺสิโต ได้แก่ ผู้อันนิสสัย คือตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย
แล้ว. บทว่า อญฺญมเหฐยาโน ได้แก่ ไม่เบียดเบียนบุคคลไร ๆ อื่น
บทว่า ปรินิพฺพุโต ได้แก่ ดับสนิท ด้วยการดับกิเลสได้สนิท. บทว่า
น อุปวทเยฺย กญฺจิ ความว่า ไม่พึงว่าร้ายบุคคลไร ๆ อื่น ด้วยศีลวิบัติ
หรือด้วยอาจารวิบัติ ด้วยประสงค์จะยกตน หรือด้วยประสงค์จะข่มผู้อื่น
โดยที่แท้ ภิกษุตั้งธรรม 5 เข้าไว้ในตน อยู่ด้วยทั้งจิตที่ตั้งอยู่ในสภาวะ
อันยกขึ้นพูดอย่างนี้ว่า เราจะกล่าวตามกาล จะไม่กล่าวโดยมิใช่กาล
กล่าวด้วยคำเป็นจริง ไม่กล่าวด้วยคำไม่เป็นจริง กล่าวด้วยคำอ่อนหวาน
ไม่กล่าวด้วยคำหยาบ กล่าวด้วยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ ไม่กล่าวคุณ
ที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์. มีเมตตาจิต ไม่มากด้วยโทสจิตกล่าว
จบ อรรถกถากุมมสูตรที่ 3

4. ปฐมทารุขันธสูตร


ว่าด้วยอุปมาการท่องเที่ยวในสังสารวัฏกับท่อนไม้ลอยน้ำ


[322] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา
แห่งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นท่อนไม้ใหญ่ท่อนหนึ่ง
อันกระแสน้ำพัดลอยมาริมฝั่งแม่น้ำคงคา แล้วตรัสถานภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเห็นหรือไม่ ท่อนไม้ใหญ่โน้นอันกระแส
น่าพัดลอยมาในแม่น้ำคงคา ภิกษุทูลหลายกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่อนไม้จะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้หรือฝั่งโน้น
จักไม่จมเสียในท่ามกลาง จักไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับเอาไว้
ไม่ถูกน้ำวน ๆ ไว้ จักไม่เน่าในภายใน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการ
ดังกล่าวมานี้แล ท่อนไม้นั้นจักลอยไหลเลื่อนไปสู่สมุทรได้ ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะเหตุว่า กระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาลุ่มลาดไหลไปสู่สมุทร
ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายจะไม่แวะเข้าฝั่งข้างนี้หรือฝั่ง
ข้างโน้น ไม่จมลงในท่ามกลาง ไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับไว้
ไม่ถูกเกลียวน้ำวน ๆ ไว้ จักไม่เป็นผู้เสียในภายในไร้ ด้วยประการดัง
กล่าวมานี้ ท่านทั้งหลายจักโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร. เพราะเหตุว่า สัมมาทิฏฐิย่อมโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน ก็
ฉันนั้นเหมือนกัน.
[323] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้
ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งนี้ได้แก่อะไร ฝั่ง
โน้นได้แก่อะไร การจมลงในท่ามกลางได้แก่อะไร การเกยบกได้แก่อะไร